简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เตือนภัยคริปโต! มิจฉาชีพยกระดับแผนหลอกลวง ส่ง จดหมายปลอมถึงบ้าน แอบอ้างชื่อ Ledger พร้อม QR Code หลอกให้กรอก Recovery Phrase หวังกวาดเหรียญเกลี้ยงกระเป๋า! ไม่ใช่แค่นั้น ยังมี แอป Ledger Live ปลอมสำหรับ macOS ฝังมัลแวร์ดูดข้อมูลเต็มระบบ ผู้ใช้คริปโตควรระวังทั้งออนไลน์และออฟไลน์อย่างเคร่งครัด
ภัยใหม่มาในรูปแบบที่คุณไม่ทันตั้งตัว เมื่อมิจฉาชีพคริปโตยกระดับแผนหลอกลวง ส่ง จดหมายปลอมถึงบ้าน หลอกว่าเป็นเอกสารจาก Ledger ผู้ผลิตกระเป๋าคริปโตชื่อดัง หวังให้เหยื่อ “หลงกล” สแกน QR Code เพื่อล้วงเอา Recovery Phrase แล้วกวาดเหรียญหายเกลี้ยงในพริบตา!
นี่ไม่ใช่ฟิชชิ่งธรรมดาแบบที่คุณคุ้นเคยทางอีเมลหรือ SMS แต่มาแบบ “เรียลๆ” ถึงหน้าประตูบ้าน พร้อมกลยุทธ์ที่แนบเนียนจนนักลงทุนคริปโตระดับมืออาชีพยังเกือบพลาด!
ฟิชชิ่งรูปแบบใหม่: จากออนไลน์สู่ไปรษณีย์หน้าบ้าน
ไมค์ เบลเช (Mike Belshe) ซีอีโอของ BitGo คือหนึ่งในผู้ที่ได้รับ จดหมายปลอมจากมิจฉาชีพ ที่อ้างว่ามาจาก Ledger โดยภายในจดหมายได้ระบุข้อความลวงว่า ผู้ใช้จำเป็นต้อง “ตรวจสอบความปลอดภัยของกระเป๋าเงิน” มิฉะนั้นอาจสูญเสียการเข้าถึงสินทรัพย์ถาวร
ที่แนบมาด้วยคือ QR Code ซึ่งเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ปลอมที่ออกแบบมาอย่างแนบเนียน เพื่อหลอกให้กรอก Recovery Phrase ซึ่งก็คือกุญแจเข้าถึงเหรียญทั้งหมดใน Hardware Wallet หากหลงกลแม้เพียงครั้งเดียว ก็อาจสูญเสียสินทรัพย์ทั้งหมดโดยไม่สามารถเรียกคืนได้
แนบเนียนระดับออฟไลน์: ใช้ความน่าเชื่อถือของ “จดหมายทางการ”
ต่างจากฟิชชิ่งทั่วไปที่มากับอีเมลหรือข้อความแชท มิจฉาชีพกลุ่มนี้เลือกใช้ “บริการไปรษณีย์ของสหรัฐฯ (USPS)” ในการส่งจดหมาย เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในสายตาเหยื่อ และเปลี่ยนแนวคิดของคนที่อาจเริ่มชินกับการระวังภัยออนไลน์ ให้เผลอไว้ใจสื่อสารแบบดั้งเดิม
Troy Lindsey นักลงทุนอีกรายหนึ่งก็ออกมาเตือนผ่าน X (Twitter เดิม) ว่าเขาเองก็ได้รับจดหมายลักษณะเดียวกัน พร้อมย้ำว่า “ทุกอย่างในจดหมายนี้คือของปลอมทั้งสิ้น อย่าหลงกลเด็ดขาด”
แอปปลอม Ledger Live เจาะผู้ใช้ macOS
ภัยยังไม่หมดแค่นั้น! บริษัทความปลอดภัย Moonlock เพิ่งออกมาแจ้งเตือนว่า ขณะนี้มีแอปปลอมของ Ledger Live สำหรับ macOS ถูกปล่อยออกมาอย่างเงียบ ๆ โดยฝังมัลแวร์ชื่อว่า Atomic macOS Stealer ไว้ภายใน
เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดแอปปลอมมาติดตั้ง มัลแวร์จะค่อย ๆ เข้ามาแทนที่ Ledger Live ของจริงอย่างแนบเนียน และแสดงหน้าต่างปลอมหลอกให้ใส่ Seed Phrase 24 คำ ทันทีที่กรอกข้อมูล ระบบจะส่งต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ของแฮ็กเกอร์ในทันที และเหรียญทั้งหมดก็จะถูกขโมยไปอย่างไร้ร่องรอย
Moonlock ระบุว่า มัลแวร์นี้กระจายผ่านเว็บไซต์ที่ถูกแฮ็กแล้วกว่า 2,800 แห่งทั่วโลก และถูกออกแบบมาให้ดึงข้อมูลสำคัญจากเครื่องผู้ใช้ เช่น รหัสผ่าน คุกกี้ ประวัติเข้าเว็บไซต์ และที่น่าห่วงที่สุดคือ กระเป๋าคริปโตทุกชนิดที่มีในเครื่อง
แอดเหยี่ยวสรุปให้: ระวังทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ในยุคที่คริปโตมีมูลค่ามหาศาล มิจฉาชีพก็ยกระดับตัวเองให้แยบยลขึ้นไปอีกขั้น ไม่ใช่แค่ลิงก์ปลอมในแชทหรือแอปหลอกในมือถือ แต่ตอนนี้มาถึงขั้นส่งเอกสารปลอมถึงบ้านคุณแล้ว!
แอดเหยี่ยวขอสรุปข้อควรระวังไว้แบบตรง ๆ ดังนี้:
ใครที่ใช้ Hardware Wallet อย่าง Ledger อยู่ อย่าชะล่าใจ เพราะตอนนี้ ภัยไม่ได้อยู่แค่บนจอ แต่มาถึงหน้าบ้านแล้วจริงๆ
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ปลายปี 2017 คือจุดพีคของกระแส Bitcoin ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของการรวยเร็ว ราคาพุ่งทะยานจาก $1,000 สู่เกือบ $20,000 ในเวลาไม่ถึงปี จนเกิดกระแส FOMO ไปทั่วโลก ผู้คนเทขายทรัพย์สินเพื่อเข้าตลาด แต่เมื่อต้นปี 2018 ฟองสบู่แตก ราคาดิ่งลงอย่างรุนแรง สะท้อนบทเรียนสำคัญว่า “ตลาดที่ขึ้นเร็ว มักลงแรง” แม้ภายหลังคริปโตจะฟื้นตัวและพัฒนาต่อไป แต่เหตุการณ์ปี 2017 ยังเป็นรอยจำของนักลงทุนรุ่นเก่า เตือนใจให้คิดให้รอบคอบก่อนลงทุน และอย่าหลงไปกับกระแสโดยไม่เข้าใจสิ่งที่ถืออยู่
Robinhood เปิดตัวโทเคนหุ้นอ้างอิงบริษัทดังอย่าง OpenAI และ SpaceX แม้หุ้นยังไม่ IPO จุดกระแส Tokenization แต่กลับถูกตั้งคำถามเรื่องความโปร่งใส เมื่อพบว่าโทเคนเหล่านั้นอาจไม่ใช่หุ้นจริง ไม่ได้ให้สิทธิ์ผู้ถือ และอาจเป็นเพียงตราสารอนุพันธ์บนบล็อกเชน ด้าน OpenAI ปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ตลาดเริ่มตั้งข้อสงสัยว่า “นี่คือการลงทุนจริง หรือแค่ภาพลวงตา” บทเรียนสำคัญสำหรับนักลงทุนยุคใหม่: อย่ามองแค่ชื่อแบรนด์ ต้องตรวจสอบเบื้องหลังว่า "ถืออะไรอยู่จริง"
Ricardo Salinas มหาเศรษฐีอันดับ 3 ของเม็กซิโก ออกโรงเตือนถึงภัยจาก ระบบเงินเฟียต (Fiat money) ที่ไม่มีอะไรค้ำประกัน พร้อมประกาศชัดว่า Bitcoin และทองคำ คือทางรอดของความมั่งคั่งในยุคเศรษฐกิจเปราะบาง “บ้านสร้างเพิ่มได้…แต่ Bitcoin มีจำกัด” Salinas มองว่าอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่ที่เก็บมูลค่าอีกต่อไป เพราะถูกเงินเฟ้อกัดกิน ขณะที่ Bitcoin เป็น “Hard money” ที่ไม่มีใครควบคุมได้ และพกพาได้ไร้พรมแดน เขายังจี้ให้พิจารณารีไฟแนนซ์บ้าน แล้วเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต้านเงินเฟ้อแทน พร้อมวิจารณ์แรงว่า…“เงินเฟียตคือเครื่องมือขโมยความมั่งคั่งของประชาชน”
Megaland แพลตฟอร์ม NFT สัญชาติไทยประกาศยุติบริการ 1 ส.ค. 2568 หลังกระแส NFT ซบเซาและขาดการใช้งานจริง เคยเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันวงการ NFT ไทย ผู้ใช้งานควรเร่งตรวจสอบบัญชีและติดตามประกาศถอนทรัพย์สิน