简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:บัญชีม้าคริปโทฯ กลายเป็นช่องทางฟอกเงินหลักของมิจฉาชีพในปี 2567 ก่อความเสียหายกว่า 37,000 ล้านบาท โดยใช้ธุรกรรม P2P ที่ยากต่อการติดตาม รัฐ-เอกชนเร่งปราบปราม พร้อมออกกฎหมายควบคุมแพลตฟอร์มคริปโทฯ หวังสกัดภัยไซเบอร์ที่ซับซ้อนและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
ในยุคดิจิทัล อาชญากรรมทางการเงินได้พัฒนากลยุทธ์ใหม่อย่างรวดเร็ว ล่าสุด “บัญชีม้าคริปโทฯ” กลายเป็นช่องทางหลักในการฟอกเงินที่ได้จากการหลอกลวงผู้บริสุทธิ์ โดยเฉพาะในปี 2567 ที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการฉ้อโกงพุ่งทะลุ 37,582 ล้านบาท หรือเฉลี่ยวันละ 103 ล้านบาท
ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและระบบ Central Fraud Registry (CFR) เผยว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 มีการใช้บัญชีคริปโทฯ ในการฟอกเงินกว่า 6,700 ล้านบาท หรือคิดเป็น 75% ของความเสียหายทั้งหมด โดยกระบวนการโอน เปลี่ยน และฟอกเงินสำเร็จภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง และบางรายการใช้เวลาเพียง 20 นาทีเท่านั้น
บัญชีม้าคริปโทฯ ซับซ้อน-ตามตัวยาก
เดิมทีบัญชีม้าในรูปแบบบัญชีธนาคารเคยเป็นปัญหาหลัก แต่ปัจจุบัน มิจฉาชีพได้เปลี่ยนมาใช้ บัญชีคริปโทฯ ซึ่งมีความซับซ้อนและยากต่อการติดตาม เนื่องจากธุรกรรมส่วนใหญ่ดำเนินการแบบ Peer-to-Peer (P2P) ผ่านแพลตฟอร์มต่างประเทศ ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องยืนยันตัวตน (KYC) ทำให้ยากต่อการระบุเจ้าของกระเป๋าคริปโทฯ
แม้ระบบบล็อกเชนจะสามารถตรวจสอบธุรกรรมย้อนหลังได้ แต่หากปลายทางของธุรกรรมไม่มีการยืนยันตัวตน ก็ไม่สามารถทราบได้ว่าใครเป็นเจ้าของเงินที่ถูกโอน
บัญชีนิติบุคคล-ฟอกเร็วกว่าเดิม
หนึ่งในแนวโน้มที่น่าห่วงคือการเปลี่ยนจากบัญชีม้าบุคคลทั่วไป มาเป็น บัญชีม้านิติบุคคล ซึ่งมีเพดานการโอนเงินสูงกว่า และดูน่าเชื่อถือมากขึ้นในสายตาเหยื่อ โดยอาชญากรยังปรับลดจำนวนทอดของการโอน จาก 4-5 ทอด เหลือเพียง 1-2 ทอด ก่อนเข้าสู่ระบบคริปโทฯ เพื่อเร่งกระบวนการฟอกเงินให้เร็วที่สุด
รัฐ-เอกชนเร่งรับมือ
จากสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เพิ่มมาตรการกวาดล้างอย่างเข้มงวด ตั้งแต่ระดับบัญชี ไปจนถึงระดับบุคคล โดยสามารถอายัดบัญชีม้าได้มากกว่า 2 ล้านบัญชี (ข้อมูล ณ ก.พ. 2568) และยังได้จับมือกับสมาคมธนาคารไทย ปรับมาตรฐานตรวจสอบบัญชีอย่างละเอียด
ล่าสุด เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2568 รัฐบาลไทยได้ออก กฎหมายใหม่เพื่อจัดการกับบัญชีม้า โดยขยายขอบเขตการควบคุมไปยังแพลตฟอร์มคริปโทฯ ในต่างประเทศที่อนุญาตให้คนไทยซื้อขายแบบ P2P ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการควบคุมความเสี่ยงในโลกการเงินดิจิทัล
สรุป:
บัญชีม้าคริปโทฯ คือภัยคุกคามใหม่ที่รัฐต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และประชาชนต้องไม่หลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพที่อ้างการลงทุนผ่านแพลตฟอร์มที่ไม่ชัดเจน หากพบพฤติกรรมน่าสงสัย ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อรายต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
VPN ไม่ได้ช่วยเสมอไป! แม้หลายคนคิดว่าใช้ VPN เข้าเว็บเทรดที่ถูกแบนได้เหมือนเดิม แต่หากฝืนล็อกอินหลังวันที่ 28 มิ.ย. 2568 อาจเข้าข่ายละเมิดคำสั่ง ก.ล.ต. และเสี่ยงผิดกฎหมาย หากเกิดปัญหา เช่น เงินหาย เว็บปิด หรือถูกโกง รัฐจะไม่รับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น ใครยังลงทุนคริปโต ควรเช็กให้แน่ใจว่าใช้แพลตฟอร์มที่ได้รับอนุญาตจริง ไม่เช่นนั้นความเสี่ยงอาจสูงเกินจะรับไหว
ในยุคที่มิจฉาชีพทางการเงินสวมคราบมืออาชีพ ความโลภและความหวังกลายเป็นช่องโหว่ให้คนฉลาดยังตกเป็นเหยื่อ รูปแบบหลอกลวงหลากหลาย ตั้งแต่แชร์ลูกโซ่ แพลตฟอร์มปลอม จนถึงการใช้ชื่อคนดัง การมีภูมิคุ้มกันทางการเงินและสติ คือเกราะป้องกันที่ดีที่สุด เพราะโจรมักเร่งให้ตัดสินใจก่อนคิดเสมอ
ปลายเดือนมิถุนายน 2568 นักลงทุนคริปโตถูกปล้นเงินสดกว่า 3.4 ล้านบาทกลางลานจอดรถห้างดังย่านลาดพร้าว ขณะทำธุรกรรมซื้อขายเหรียญดิจิทัลกับกลุ่มคนร้ายใช้อาวุธปืนและมีดในการก่อเหตุ ผู้เสียหายได้นัดหมายซื้อขายล่วงหน้า ก่อนถูกบุกปล้นและหลบหนีโดยรถยนต์ เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งสืบสวน พบมีการวางแผนล่วงหน้า เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นความเสี่ยงสูงของการทำธุรกรรมนอกระบบและถือเงินสดจำนวนมากในตลาดคริปโต
Trezor เตือนผู้ใช้งานทั่วโลกถึงแคมเปญฟิชชิ่งที่แอบอ้างเป็นทีมซัพพอร์ต เพื่อหลอกขอข้อมูลสำคัญอย่าง seed phrase โดยใช้ฟอร์มติดต่อบนเว็บไซต์หลอกระบบส่งอีเมลอัตโนมัติ Trezor ย้ำว่าไม่มีนโยบายขอข้อมูลสำรองใด ๆ และระบบยังปลอดภัย ขณะเดียวกัน การโจมตีแบบ spear phishing ในวงการคริปโตยังเกิดถี่ขึ้น วิธีป้องกันคือไม่เปิดเผย seed phrase และตรวจสอบแหล่งที่มาของอีเมลทุกครั้ง.
FXTM
HFM
XM
TMGM
STARTRADER
FOREX.com
FXTM
HFM
XM
TMGM
STARTRADER
FOREX.com
FXTM
HFM
XM
TMGM
STARTRADER
FOREX.com
FXTM
HFM
XM
TMGM
STARTRADER
FOREX.com