简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้จัดแถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ (7 พ.ย.) โดยที่ประชุมเฟดมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงอีก 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%
เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้จัดแถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ (7 พ.ย.) โดยที่ประชุมเฟดมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงอีก 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%
สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า ในการแถลงข่าวครั้งนี้ พาวเวลได้แสดงความพอใจกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในขณะนี้ และยังกล่าวด้วยว่าเขาจะไม่ลาออกจากตำแหน่งประธานเฟด แม้ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เรียกร้องให้เขาทำเช่นนั้นก็ตาม
ทั้งนี้ เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าเขาจะลาออกหรือไม่หากทรัมป์ขอให้ลาออก พาวเวลกล่าวว่า “ไม่” และผู้สื่อข่าวถามว่าประธานาธิบดีมีอำนาจที่จะปลดหรือลดตำแหน่งเขาหรือไม่ พาวเวลกล่าวว่าการกระทำดังกล่าว “ไม่ได้รับอนุญาตภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯ”
พาวเวลกล่าวว่า ในระยะสั้นนี้ ชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของทรัมป์จะไม่ส่งผลโดยตรงต่อนโยบายการเงินของเฟด
อย่างไรก็ตาม เขาเตือนว่าการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในด้านการบริหารอาจมีผลทำให้นโยบายของเฟดเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เฟดพยายามเดินหน้าปรับลดอัตราดอกเบี้ย
“โดยหลักการแล้ว เป็นไปได้ว่านโยบายใด ๆ ของฝ่ายบริหารหรือนโยบายที่กำหนดโดยสภาคองเกรสอาจมีผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะยาว ดังนั้น เมื่อพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายด้านแล้ว การคาดการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจเหล่านั้นจะถูกรวมอยู่ในแบบจำลองเศรษฐกิจของเรา และจะถูกนำมาพิจารณาด้วย” พาวเวลกล่าว
พาวเวลได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการคลังของสหรัฐฯ โดยระบุว่านโยบายการคลังอยู่ในทิศทางที่ไม่ยั่งยืน โดยการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ และนโยบายการคลังโดยรวมยังคงเป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจ
ส่วนในด้านนโยบายการเงินของเฟดนั้น พาวเวลกล่าวว่า นโยบายการเงินยังคงอยู่ในระดับที่คุมเข้ม พร้อมกับกล่าวว่าแม้ข้อมูลเศรษฐกิจที่เปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้จะออกมาในเชิงบวก แต่เฟดยังคงพยายามที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากนโยบายการเงินยังคงอยู่ในระดับที่คุมเข้ม
ทั้งนี้ พาวเวลย้ำว่า คณะกรรมการเฟดมองว่าการลดต้นทุนการกู้ยืมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับภารกิจ Dual Mandate ของเฟด คือการจ้างงานที่ขยายตัวอย่างเต็มศักยภาพและอัตราเงินเฟ้อที่เคลื่อนตัวสู่เป้าหมายที่ระดับ 2%
“เราคิดว่า แม้ว่าเราได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ แต่นโยบายการเงินของเฟดก็ยังคงอยู่ในระดับที่คุมเข้ม” พาวเวลกล่าว
นอกจากนี้ พาวเวลกล่าวว่า นโยบายการเงินของเฟดยังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสมในการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ขอบคุณสำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ราคาทองคำเช้าวันจันทร์ปรับลดลง จากแรงกดดันค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าหลังตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ แข็งแกร่ง ทำให้ตลาดลดคาดการณ์การลดดอกเบี้ยของเฟด ขณะที่คำขู่ขึ้นภาษีของทรัมป์ยังไม่หนุนแรงซื้อทองอย่างมีนัยสำคัญ
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
บทความนี้นำเสนอภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2568 ท่ามกลางความผันผวนจากปัจจัยต่างประเทศ ดอกเบี้ยนโยบายที่ยังอยู่ในระดับสูง และค่าเงินบาทที่ยังแกว่งตัว นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงการคาดเดาตลาด และหันมา “วางแผน” โดยเน้นการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ ทองคำ รวมถึงสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดอย่าง REITs และหุ้นปันผล นอกจากนี้ยังแนะนำธีมการลงทุนเด่น เช่น หุ้นสุขภาพ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับ AI และพลังงานสะอาด เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในช่วงตลาดผันผวน เป้าหมายสำคัญคือการสร้างพอร์ตที่สมดุล ปรับตัวทัน และพร้อมรับความไม่แน่นอนในอนาคต
รีวิวโบรกเกอร์
FXTM
EC Markets
IronFX
HFM
Doo Prime
FXCM
FXTM
EC Markets
IronFX
HFM
Doo Prime
FXCM
FXTM
EC Markets
IronFX
HFM
Doo Prime
FXCM
FXTM
EC Markets
IronFX
HFM
Doo Prime
FXCM