简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:บทวิเคราะห์ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (17 ก.ค.) โดยถูกกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.5% แตะที่ระดับ 103.747
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 156.10 เยน จากระดับ 158.35 เยนในวันอังคาร (16 ก.ค.) และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8836 ฟรังก์ จากระดับ 0.8943 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3690 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3679 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0937 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0896 ดอลลาร์ในวันอังคาร ส่วนเงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.3006 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2969 ดอลลาร์
นักลงทุนให้น้ำหนักเกือบ 100% ต่อคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ในเดือนก.ย. หลังการส่งสัญญาณของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด และหลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาด
ทางด้านนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการเฟด และเป็นสมาชิกถาวรของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) ส่งสัญญาณบ่งชี้ว่า เฟดเตรียมปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.
.
“ผมเชื่อว่าข้อมูลในขณะนี้มีความสอดคล้องกับการที่เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวโดยไม่ประสบภาวะถดถอย และผมจะดูข้อมูลต่อไปอีก 2-3 เดือนเพื่อให้มีความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อมุมมองดังกล่าว ดังนั้น แม้ผมไม่เชื่อว่าเราได้ไปถึงจุดหมายปลายทางสุดท้ายแล้ว แต่ผมก็เชื่อว่าเรากำลังเข้าใกล้เวลาที่เหมาะสมในการใช้นโยบายปรับลดอัตราดอกเบี้ย” นายวอลเลอร์กล่าว
ถ้อยแถลงของนายวอลเลอร์บ่งชี้ว่า เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ และมีแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.
.
ส่วนเงินเยนแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่า ทางการญี่ปุ่นอาจเข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเพื่อพยุงค่าเงินเยน ซึ่งจะเป็นการดำเนินการเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการรายงานเมื่อคืนนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.9% ในเดือนพ.ค. ส่วนเมื่อเทียบรายปี การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนมิ.ย.
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้น 3% สู่ระดับ 1.353 ล้านยูนิตในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.3 ล้านยูนิต ส่วนเมื่อเทียบรายปี ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลง 4.4% ในเดือนมิ.ย.
ขอบคุณสำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
เหตุการณ์ Black Wednesday ในปี 1992 คือวันที่ George Soros ใช้ความเข้าใจเชิงโครงสร้างและทุนมหาศาล “ชอร์ตค่าเงินปอนด์” จนธนาคารกลางอังกฤษต้องถอนตัวจากระบบ ERM และขาดทุนกว่า 3.3 พันล้านปอนด์ ขณะที่ Soros ทำกำไรพันล้านดอลลาร์ เหตุการณ์นี้ตอกย้ำว่า ในตลาดการเงิน “ใครเข้าใจระบบก่อน ย่อมได้เปรียบ” และแม้แต่นโยบายรัฐ ก็ไม่อาจต้านแรงของกลไกตลาดได้
บทความเตือนนักลงทุนมือใหม่ถึง 5 พฤติกรรมเสี่ยงที่มักทำให้พอร์ตพัง เช่น เทหมดหน้าตัก, ไม่ยอมขายขาดทุน, ซื้อเพราะ FOMO, เทรดรายวันไร้แผน และไม่อัปเดตความรู้ แนะนำให้มีวินัย กระจายความเสี่ยง และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่ออยู่รอดในตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
รีวิวโบรกเกอร์
“ภาษีทรัมป์” กำลังเป็นสัญญาณเตือนใหญ่สำหรับเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะนักเทรด FX หลังทรัมป์ขู่ขึ้นภาษีนำเข้าอาจสูงถึง 36% หากเกิดขึ้นจริง ไทยอาจเสียเปรียบทางการค้าและ GDP ติดลบ ขณะที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง นอกจากนี้ ความตึงเครียดด้านเทคโนโลยีและความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ ยิ่งซ้ำเติมความเสี่ยง แอดเหยี่ยวเตือนเทรดเดอร์จับตานโยบายสหรัฐฯ และบริหารความเสี่ยงให้ดี เพราะพายุลูกใหญ่อาจใกล้กว่าที่คิด
Doo Prime
KVB
GTCFX
VT Markets
TMGM
Exness
Doo Prime
KVB
GTCFX
VT Markets
TMGM
Exness
Doo Prime
KVB
GTCFX
VT Markets
TMGM
Exness
Doo Prime
KVB
GTCFX
VT Markets
TMGM
Exness