简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เงินเฟ้อคืออะไร ? ส่งผลกระทบกับเรายังไงบ้าง !
เงินเฟ้อมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของทุกคน ดังนั้นเราจึงควรเข้าใจว่าเงินเฟ้อเกี่ยวข้องยังไงกับการใช้ชีวิตของเราบ้าง
ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง มีผลทำให้มูลค่าของเงินลดลง ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลเงินเฟ้อ คือ กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย โดยหน่วยงานเหล่านี้จะดูแลราคาสินค้าและบริการ หรือตรึงราคาไว้ และกำหนดนโยบายการเงิน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน, ระบบเศรษฐกิจ ไม่ให้ผันผวนจนเกินไป
สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ1. Demand-Pull Inflation ประชาชนมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ประกอบกับสินค้าและบริการในตลาดมีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
2. Cost-Push Inflation ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นตาม
ผลกระทบจากเงินเฟ้อ
ผลต่อประชาชน
รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการครองชีพ
อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูงจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง ยกตัวอย่าง กรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีแต่หากอัตราเงินเฟ้อหรือราคาเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1 อาจกล่าวได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี เท่านั้น แต่หากปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังเท่าเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะกลายเป็นร้อยละ - 0.5 ต่อปี ซึ่งถือว่ากำลังซื้อของผู้ฝากเงินลดลง การฝากเงินทำให้ได้รับผลตอบแทนจริงๆ ติดลบ ทำให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์และหุ้น เป็นต้น ทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหารจัดการ ก็อาจทำให้เกิดเป็นภาระหนี้สินได้
ผลต่อผู้ประกอบการ, นักธุรกิจ
เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้น
ด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้
คนตกงานมากขึ้น
ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออก
ของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่นๆ
ผลต่อประเทศ
ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย
ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนก็จะหันไป เก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ (asset price bubble) และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้เช่น หนี้ครัวเรือน
ถ้าเกิดเงินเฟ้ออ่อนๆ จะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเมื่อคนขายเห็นว่าราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ทำให้มีแรงจูงใจที่จะผลิตสินค้าออกมาขาย ส่งผลให้มีการลงทุน และการจ้างงานเพิ่มขึ้น ประชาชนทั่วไปก็จะมีงานทำ รายได้ของประชาชนโดยรวมก็จะมีมากขึ้นทำให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจให้เกิดขยายตัว แต่ถ้าเงินเฟ้อมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อทุกคน ซึ่งในปัจจุบันปัญหาเงินเฟ้อได้เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบ เราจึงจำเป็นต้องบริหารและวางแผนการเงินให้ดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex อ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูลหมดไส้หมดพุง แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
XM
FBS
HFM
FOREX.com
STARTRADER
Neex
XM
FBS
HFM
FOREX.com
STARTRADER
Neex
XM
FBS
HFM
FOREX.com
STARTRADER
Neex
XM
FBS
HFM
FOREX.com
STARTRADER
Neex