简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โดย Barani Krishnan Investing.com – ราคาน้ำมันดิบร่วงลง 5% ในวันจันทร์เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์แตะระดั
โดย Barani Krishnan
Investing.com – ราคาน้ำมันดิบร่วงลง 5% ในวันจันทร์เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์แตะระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีจากความกลัวว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าที่ไม่ใช่แค่สินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาเป็นสกุลเงิน แต่ยังรวมถึงสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ เช่นหุ้นและสกุลเงินดิจิตอล
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับน้ำมันทั่วโลกที่ซื้อขายในลอนดอน ลดลง 6.10 ดอลลาร์หรือ 5.4% เป็น 106.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเวลา 13:08 น. ET (17:08 GMT)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบWTI ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลง 6.30 ดอลลาร์หรือ 5.7% เป็น 103.47 ดอลลาร์
โดยร่วงลงหลังจากที่เพิ่มขึ้นเกือบ 6% ของสัปดาห์ที่แล้วทั้งน้ำมันดิบเบรนท์และ WTI หลังจากที่พันธมิตรผู้ส่งออกน้ำมันของ OPEC+ ตกลงกันในการประชุมรายเดือนเพื่อปรับขึ้นการผลิตที่ 432,000 บาร์เรลต่อวันซึ่งต่ำกว่าความต้องการน้ำมันในช่วงฤดูร้อนที่คาดการณ์ไว้
ราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำเกิดขึ้นในขณะที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางของเฟดขึ้นอภิปรายว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐครั้งต่อไปควรอยู่ที่ 75 จุดพื้นฐานหรือไม่ โดยบางคนกล่าวว่ามันอาจจะมากเกินไปในขณะที่บางคนแย้งว่าอาจจำเป็นเพราะต้องหยุดเงินเฟ้อที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ครั้งสุดท้ายที่เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 จุดพื้นฐานคือในปี 1994
เทรดเดอร์ในตลาดเงินได้กำหนดราคาไว้แล้วในความน่าจะเป็น 79% ของการปรับขึ้น 75 จุดพื้นฐานในการประชุมเฟดในวันที่ 14-15 มิถุนายนที่จะถึงนี้ หลังจากการปรับขึ้น 50 จุดพื้นฐานในสัปดาห์ที่แล้วของการประชุมเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปี
เฟดยืนยันว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกจะไม่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่ตลาดยังคงเคลือบแคลงในคำกล่าวนี้
“เฟดดูมีความขัดแย้งมากขึ้นเมื่อมีความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ย และสิ่งนี้อาจสร้างความรู้สึกไม่สบายใจ เริ่มจากหุ้นไปจนถึงน้ำมัน” จอห์น คิลดัฟฟ์ หุ้นส่วนผู้ก่อตั้งกองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านพลังงานของนิวยอร์ก Again Capital กล่าว
เอ็ด โมย่า นักวิเคราะห์จากแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ OANDA เห็นด้วยกับมุมมองดังกล่าว
นอกจากสินค้าโภคภัณฑ์แล้ว หุ้นในวอลล์สตรีทก็ร่วงลงจากความกลัวต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ดัชนี Nasdaq โคมโพสิต ซึ่งเป็นกลุ่มของเทคโนโลยีชั้นนำ เช่น Facebook (NASDAQ:FB), Amazon ( NASDAQ:AMZN), Apple (NASDAQ:AAPL), Netflix (NASDAQ:NFLX) และ Google (NASDAQ:GOOGL) แตะระดับต่ำสุดของเซสชั่นที่ 11,714 ในวันจันทร์ซึ่งตรงกับจุดต่ำสุดสองปีครึ่ง Nasdaq ลดลงแล้ว 5% ในเดือนพฤษภาคม เพิ่มพื้นที่การร่วงลงในกราฟ 13% ในเดือนเมษายน จนถึงปัจจุบัน บารอมิเตอร์เทคโนโลยีสูญเสียไป 25%
ราคา บิทคอยน์ ดิ่งลงเกือบ 50% จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยอยู่ที่ 32,360 ดอลลาร์ในการซื้อขายช่วงกลางวันของนิวยอร์ก เทียบกับระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนพฤศจิกายนที่ 68,991 ดอลลาร์
ดอลลาร์ซึ่งเป็นผู้รับผลประโยชน์หลักในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี โดยที่ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเทียบดอลลาร์กับสกุลเงินหลักอื่น ๆ อีก 6 สกุล ซึ่งอยู่ที่ 104.12 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2002
หลังจากหดตัว 3.5% ในปี 2020 จากการหยุดชะงักของการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส เศรษฐกิจสหรัฐฯขยายตัว 5.7% ในปี 2021 ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982
แต่อัตราเงินเฟ้อกลับขยายตัวเร็วขึ้น ดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5.8% ในเดือนธ.ค. และ 6.6% ในช่วง 12 เดือนถึงมีนาคม ค่าที่อ่านได้ทั้งสองบ่งชี้การเติบโตที่รวดเร็วที่สุด นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา
ดัชนีราคาผู้บริโภค สหรัฐอเมริกา หรือ CPI อีกหนึ่งมาตรการสำคัญสำหรับเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น 8.5% ในปีถึงมีนาคม การอ่านค่า CPI ในเดือนเมษายนจะมีขึ้นในวันพุธ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการเติบโต 8.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี แม้ว่าตัวเลขจริงอาจทำให้ประหลาดใจ
โดยเพดานของเฟดสำหรับอัตราเงินเฟ้อนั้นอยู่ที่เพียง 2% ต่อปี
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
OANDA
IB
ATFX
XM
IC Markets Global
Doo Prime
OANDA
IB
ATFX
XM
IC Markets Global
Doo Prime
OANDA
IB
ATFX
XM
IC Markets Global
Doo Prime
OANDA
IB
ATFX
XM
IC Markets Global
Doo Prime