简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: คำถามที่ยังคงค้างคาอยู่ในใจของนักเทรดส่วนใหญ่อยู่ก็คือ จะเกิดอะไรขึ้นหาก Bitcoin ถูกแฮ็ก?
คำถามที่ยังคงค้างคาอยู่ในใจของนักเทรดส่วนใหญ่อยู่ก็คือ จะเกิดอะไรขึ้นหาก Bitcoin ถูกแฮ็ก? โดยในรายการ Unchained podcast ตอนล่าสุด พิธีกร Laura Shin ได้เรียนเชิญนาย Justin Drake นักวิจัยของ Ethereum Foundation และนาย Vijay Boyapati อดีตวิศวกรของ Google มาเป็นแขกรับเชิญเพื่อร่วมกันอภิปรายว่า มีความเป็นไปได้ไหมที่ Bitcoin จะถูกโจมตี 51% และใครสามารถใช้วิธีนี้ได้บ้าง โจมตี 51% ด้วยเงินดอลลาร์
Boyapati เริ่มต้นมาด้วยการนำเสนอแนวคิดที่ว่า ความปลอดภัยเป็นสเปกตรัมและไม่ใช่ไบนารี่ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้หรือแม้แต่เครือข่ายอาจต้องการการยืนยันธุรกรรมในจำนวนที่ต่างกัน Drake เห็นด้วยว่า ความปลอดภัยนั้นเป็นคลื่นความถี่ หากอัตราแฮชเรตของผู้โจมตีน้อยกว่า 50% อย่างไรก็ตามเขาโต้แย้งว่า หากผู้โจมตีสามารถควบคุมอัตราแฮชเรตมากกว่า 50% ความปลอดภัยจะกลายเป็นไบนารี่ในทันที นอกจากนี้ผู้โจมตียังได้รับ “God mode” เหนือ Bitcoin ด้วยอำนาจในการขุดบล็อกที่ว่างเปล่าจนกว่าจะหมดเวลาอีกด้วย Drake ได้มุ่งเป้าความสนใจไปที่กลไก proof-of-work ซึ่งเขาอ้างว่าผู้โจมตีสามารถทำให้ “God mode” กลายเป็นจริงได้ด้วยการซื้ออัตราแฮชเรตเพื่อใช้ในการโจมตี 51%
“ปัจจุบันอัตราแฮชเรตบนเครือข่าย Bitcoin อยู่ที่ประมาณ 150 ล้าน th/s ซึ่งคุณสามารถถามประเมินได้ว่า ต้นทุนในการผลิตและปรับใช้ 1 th/s นั้นมีราคาเท่าไหร่ และคุณสามารถแลกเปลี่ยนอัตราแฮชเรตจำนวนนั้นด้วยเงินดอลลาร์” หากกำหนดเงิน 50 ดอลลาร์ต่อ 1 th/s Drake คำนวณว่าผู้โจมตีต้องใช้เงินประมาณ 7.5 พันล้านดอลลาร์ในการโจมตี 51% พร้อมกันนี้เขายังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า “เกราะป้องกันทางเศรษฐกิจ” ของ Bitcoin จะกลายเป็น “ถั่วลิสง” ในทันที หากประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาหรือจีนต้องการที่จะทำลายเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของ Boyapati เขากล่าวแย้งว่า เครือข่าย Bitcoin ถูกสร้างขึ้นเพื่อจูงใจผู้ใช้ที่มีอัตราแฮชเรตเป็นจำนวนมาก นำพวกมันมาใช้ในการขุด แทนที่จะใช้เพื่อโจมตีเครือข่าย Boyapati ได้อ้างถึงทฤษฎีเกมเพื่อโต้แย้ง
แอปพลิเคชั่น ‘Wikibit’ มีฟีเจอร์โดนๆ สำหรับนักลงทุน อย่าง การตรวจสอบ Exchange และ Token เพื่อช่วยให้การตัดสินใจในการลงทุนของคุณนั้นง่ายขึ้น เพียงแค่คุณกดค้นหาเท่านั้น ข้อมูลที่คุณควรรู้ก็จะปรากฏขึ้นมาแบบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น คะแนนความน่าเชื่อถือจากแอป ใบอนุญาต ข้อมูลโครงการ การเยี่ยมชมจากเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการมีอยู่ของบริษัทนั้นตามที่ได้แจ้งข้อมูลกับทาง ก.ล.ต. เพื่อขอใบอนุญาต ถือว่าครบจบในแอปเดียว อย่ารอช้าโหลดเลย!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Robinhood เปิดตัวโทเคนหุ้นอ้างอิงบริษัทดังอย่าง OpenAI และ SpaceX แม้หุ้นยังไม่ IPO จุดกระแส Tokenization แต่กลับถูกตั้งคำถามเรื่องความโปร่งใส เมื่อพบว่าโทเคนเหล่านั้นอาจไม่ใช่หุ้นจริง ไม่ได้ให้สิทธิ์ผู้ถือ และอาจเป็นเพียงตราสารอนุพันธ์บนบล็อกเชน ด้าน OpenAI ปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ตลาดเริ่มตั้งข้อสงสัยว่า “นี่คือการลงทุนจริง หรือแค่ภาพลวงตา” บทเรียนสำคัญสำหรับนักลงทุนยุคใหม่: อย่ามองแค่ชื่อแบรนด์ ต้องตรวจสอบเบื้องหลังว่า "ถืออะไรอยู่จริง"
Ricardo Salinas มหาเศรษฐีอันดับ 3 ของเม็กซิโก ออกโรงเตือนถึงภัยจาก ระบบเงินเฟียต (Fiat money) ที่ไม่มีอะไรค้ำประกัน พร้อมประกาศชัดว่า Bitcoin และทองคำ คือทางรอดของความมั่งคั่งในยุคเศรษฐกิจเปราะบาง “บ้านสร้างเพิ่มได้…แต่ Bitcoin มีจำกัด” Salinas มองว่าอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่ที่เก็บมูลค่าอีกต่อไป เพราะถูกเงินเฟ้อกัดกิน ขณะที่ Bitcoin เป็น “Hard money” ที่ไม่มีใครควบคุมได้ และพกพาได้ไร้พรมแดน เขายังจี้ให้พิจารณารีไฟแนนซ์บ้าน แล้วเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต้านเงินเฟ้อแทน พร้อมวิจารณ์แรงว่า…“เงินเฟียตคือเครื่องมือขโมยความมั่งคั่งของประชาชน”
ปลายเดือนมิถุนายน 2568 นักลงทุนคริปโตถูกปล้นเงินสดกว่า 3.4 ล้านบาทกลางลานจอดรถห้างดังย่านลาดพร้าว ขณะทำธุรกรรมซื้อขายเหรียญดิจิทัลกับกลุ่มคนร้ายใช้อาวุธปืนและมีดในการก่อเหตุ ผู้เสียหายได้นัดหมายซื้อขายล่วงหน้า ก่อนถูกบุกปล้นและหลบหนีโดยรถยนต์ เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งสืบสวน พบมีการวางแผนล่วงหน้า เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นความเสี่ยงสูงของการทำธุรกรรมนอกระบบและถือเงินสดจำนวนมากในตลาดคริปโต
แม้ Squid Game Season 3 จะเป็นเพียงซีรีส์ แต่เรื่องของ “มยองกี” ยูทูบเบอร์สายคริปโตผู้ล้มละลายจากความมั่นใจเกินตัว กลับสะท้อนความจริงเจ็บลึกของนักลงทุนยุคใหม่ที่หวังรวยเร็วโดยไม่มีแผนสำรอง การล้มของเขาคือบทเรียนสำคัญว่า “ความรู้ไม่เท่ากับภูมิคุ้มกัน” และ “ความสำเร็จครั้งก่อน ไม่ใช่เกราะป้องกันความผิดพลาดครั้งหน้า”... อย่ารอให้พลาดแล้วค่อยเข้าใจว่า เกมการลงทุนก็โหดไม่ต่างจากเกมเอาชีวิตรอด